“เฉลิมชัย”เร่งช่วยเกษตรกรเพิ่มรายได้ยุคโควิด19เดินหน้า3โครงการ เปิดตัวเว็ป”ช่วยเกษตร.Com คิกออฟ 21 มิ.ย. ผนึกไปรษณีย์ไทยเปิดโปรค่าขนส่งสินค้าเกษตรพร้อมจับมือ 14 กูรูอีคอมเมิร์ซดันโมเดล “เกษตรพาณิชย์”ช่วยเกษตรกร – นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี ดร.ศตพล จันทร์ณรงค์ เป็นประธาน ซึ่งดำเนินการขับเคลื่อนโมเดล “เกษตรพาณิชย์”ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ บูรณาการระบบการพาณิชย์ด้าน E-Commerce สินค้าเกษตรระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้สามารถตอบสนองพฤติกรรมการอุปโภค-บริโภคยุคNew Normalรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง จึงเตรียมพร้อมมาตรการขับเคลื่อนภาคเกษตรตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน”เปิดตัว 3 โครงการโดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้เกษตรกรผ่านศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) พร้อมกันทั่วประเทศ สร้างช่องทางการขายสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ และร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทยจัดโปรโมชั่นลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเกษตร โดยในวันที่21มิถุนายน2563จะเริ่มเปิดบริการใหม่คือ เว็ปไซท์ www.ช่วยเกษตร.com
ด้าน อาจารย์ศตพล จันทร์ณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการที่จะเริ่มดำเนินการในลำดับแรกคือ โครงการช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับไปรษณีย์ไทย มีวัตถุประสงค์ช่วยสนับสนุนลดค่าใช้จ่าย ด้านการขนส่งทางไปรษณีย์ไทย และบรรจุภัณฑ์ในราคาพิเศษ โดยจะให้เกษตรกรที่สนใจ ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ที่เว็บไซต์ ช่วยเกษตร.com ตั้งแต่ 21 มิถุนายน นี้ จากนั้นเกษตรกรจะได้รับบัตรสมาชิกออนไลน์ เมื่อมีการขนส่งให้แสดงบัตรต่อเจ้าหน้าที่ หรือใช้กล่องที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับค่าขนส่งในอัตราพิเศษ 5 กิโลกรัม 30 บาท หากเกิน 5 กิโลกรัมคิดเหมาเป็นกิโลกรัมละ 8 บาท โดยเกษตรกร จะต้องบรรจุผลิตผลทางการเกษตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน และจัดส่งด้วยตนเองที่สาขาไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
ขณะเดียวกัน อนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมขับเคลื่อนโครงการเพิ่มความรู้ให้พี่น้องเกษตรกรเรียนออนไลน์ผ่านศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับและให้ความรู้ผู้ประกอบการเกษตรและเกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ในการทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์จากวิทยากรชั้นนำในทุกสาขาผ่านระบบออนไลน์ e Learning โดยเป็นการสอนผ่านระบบ Zoom และ Facebook Live พร้อมเรียนซ้ำได้ผ่านระบบ e Learning เริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคมจนถึง 31 ธันวาคม 2563 มีหัวข้อที่น่าสนใจ 3 หมวด ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ยังมีโครงการช่วยขายผลผลิตการเกษตรสู่ตลาดออนไลน์
เพื่อช่วยขายผลผลิตของเกษตรกร เข้าสู่ช่องทางการตลาดออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ซึ่งจะเปิดให้เกษตรกรที่ต้องการขายผลผลิตสู่ตลาดออนไลน์ ลงทะเบียนแจ้งจำนวนของผลผลิต และราคาที่ต้องการจัดจำหน่าย จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญดำเนินการด้านการตลาดให้ทั้งหมด เกษตรกรมีหน้าที่จัดเตรียมผลผลิตทางเกษตรให้พร้อมในการจัดส่ง และจัดจำหน่ายเมื่อขายได้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยสนับสนุนเกษตรกรที่เป็นมือใหม่และเริ่มขายผลผลิตทางการเกษตรผ่านตลาดออนไลน์อีกทางหนึ่งด้วย
รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ยังกล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการร่วมเดินหน้าฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจภายหลังปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น คณะกรรมการธนาคารจึงมีมติเห็นชอบให้จัดทำ “โครงการ ธอส. ปันน้ำใจ เราไม่ทิ้งกัน” ผ่าน 2 มาตรการทั้งทางด้านการเงิน และด้าน CSR ประกอบด้วย
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน” (วงเงิน 20,000 ล้านบาท) ให้กู้สำหรับบุคคลในครอบครัวของประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล(มาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท จำนวน 3 เดือน) หรือบุคคลในครอบครัวของลูกค้า ธอส. ที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วม “มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)
รวมถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับลูกค้าทั้ง 8 มาตรการตาม “โครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ” ผู้กู้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1.99% ต่อปี นานถึง 2 ปีแรก ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 3.75% ต่อปี ปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ย MRR-2% ต่อปี และปีที่ 5 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR–1.00% ต่อปี และกรณีรายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-0.75% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส.เท่ากับ 6.150% ต่อปี) วัตถุประสงค์ให้กู้เพื่อซื้อ(ครอบคลุมทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง) ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซม และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัยพร้อมกับการขอกู้ตามวัตถุประสงค์หลัก(ซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย และซ่อมแซม) วงเงินให้กู้ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหลักประกัน รวมถึงได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ คิดค่าประเมินราคาหลักประกันในอัตราพิเศษ และให้ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 40 ปี ยื่นคำขอกู้และทำนิติกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 ธันวาคม 2563
ค่าจีดีพีของวานูอาตูเติบโตโดยเฉลี่ยไม่ถึง 3% ในทศวรรษ 1990 และตอบสนองความสนใจจากต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้สัญญาที่จะเข้มงวดกับระเบียบด้านการเงินนอกประเทศ เมื่อกลางปี 2005 รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามที่จะเร่งตลาดท่องเที่ยว ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นผู้สนับสนุนหลักจากต่างประเทศของวานูอาตู
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป